จำนวนผู้เข้าชม

คลิกหรือสแกนรูป

เพื่อประเมินเว็บไซต์

ประวัติบาสเกตบอล

บาสเกตบอล มีความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2434 โดย Dr.James Naismith (ดร.เจมส์ ไนสมิธ)อาจารย์พลศึกษาของโรงเรียนคนงานคริสเตียน ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยสปริงฟิล ( Springfield College )เมืองสปริงฟิล รัฐแมสซาชูเซส สหรัฐอเมริกา ( Massachusetts, USA. ) ขณะนั้นผู้ฝึกสอนฟุตบอลของโรงเรียนต้องการให้มีการแข่งขันกีฬาในร่มสำหรับนักเรียนระหว่างฤดูหนาว

และได้กำหนดกติกาพื้นฐาน 5 ข้อ ดังนี้

  1. ผู้เล่นใช้มือเล่นลูกบอล
  2. ผู้เล่นห้ามถือลูกบอลวิ่ง
  3. ผู้เล่นสามารถยืนตำแหน่งใดก็ได้ในสนาม
  4. ผู้เล่นห้ามปะทะหรือถูกต้องตัวกัน
  5. ห่วงประตูติดตั้งไว้เหนือพื้นสนามขนานกับเส้นเขตสนาม

Dr.James Naismith ได้ใช้ไม้รูปร่างคล้ายผลท้อจัดทำเป็นห่วงประตู ติดตั้งไว้ที่ระเบียงห้องโถงตามความสูงของระเบียง
ประมาณ 10 ฟุต ครั้งแรกใช้ลูกฟุตบอลโดยมีคนนั่งบนราวบันไดเพื่อหยิบลูกบอลออกจากประตูเมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล
ต่อมา Dr.James Naismith ได้กำหนดหลักการเล่นขึ้น 13 ข้อ เป็นพื้นฐานของกติกาโดยใช้ทักษะมากกว่าการใช้แรง

กติกาบาสเกตบอล 13 ข้อ

  1. สามารถโยนลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ
  2. สามารถตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียวหรือสองมือ แต่ต้องไม่ใช้กำปั้น
  3. ห้ามถือลูกบอลวิ่งต้องโยนลูกบอลจากจุดที่ถือลูกบอล ผู้เล่นสามารถวิ่งเพื่อคว้าบอล
  4. ต้องถือลูกบอลด้วยมือ แขนหรือลำตัว ห้ามดึงลูกบอล
  5. ห้ามใช้ไหล่ดัน ผลัก ดึง ตบหรือตี ฝ่ายตรงข้าม หากเกิดการละเมิดให้ถือเป็น ฟาวล์ หาก กระทำซ้ำอีก
    ถือเป็น ฟาวล์ เสียสิทธิ์ จนกว่าจะเกิดการยิงประตูเป็นผลในคราวต่อไป หรือเกิดผู้เล่นบาดเจ็บของผู้เล่นตลอด
    การแข่งขัน ห้ามเปลี่ยนตัวผู้เล่น
  6. การฟาวล์ เป็นการกระแทกลูกบอลด้วยกำปั้นและการผิดระเบียบของกติกาข้อ 3,4 และตาม
    รายละเอียดตามกติกาข้อ 5
  7. หากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันกระทำฟาวล์ ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้นับคะแนน (การฟาวล์ ติดต่อกัน หมายถึง เป็นการฟาวล์ ที่ไม่มีการฟาวล์์ ของฝ่ายตรงข้ามคั่นระหว่างการฟาวล์ ติดต่อนั้น)
  8. เมื่อลูกบอลถูกตี หรือโยนจากพื้นเข้าประตู ให้นับคะแนน หากลูกบอลค้างก้านห่วงโดยผู้ เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสหรือกระทบประตู ให้นับคะแนน
  9. เมื่อลูกบอลออกนอกสนามให้ส่งบอลเข้าเล่นที่สัมผัสลูกบอลครั้งแรกในกรณี ที่มีผู้คัดค้าน
    กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) จะโยนบอลเข้าไปในสนาม ผู้เล่น ที่ส่งบอลสามารถใช้เวลาได้ 5 วินาที หากเกินกว่านั้นฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลแทน หากมีการคัดค้านและทำให้การแข่งขัน ล่าช้า
    กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) สามารถขานฟาวล์ เทคนิค
  10. กรรมการผู้ร่วมตัดสิน (Umpire) มีหน้าที่ตัดสินและจดบันทึกการฟาวล์ เกิดฟาวล์ ต่อกัน ครบ 3 ครั้ง
    ให้แจ้งต่อผู้ตัดสิน (Referee) และสามารถให้ฟาวล์ เสียสิทธิ์ ตามกติกาข้อ 5
  11. ผู้ตัดสิน (Referee) มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาด เมื่อลูกบอลเข้าสู่การเล่นในพื้นที่ของเขาและเป็นผู้ จับเวลา ,ให้คะแนนเมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล ,จดบันทึกคะแนนและรับผิดชอบตามพื้นที่
  12. เวลาการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ครึ่ง ๆละ 15 นาที พัก 5 นาที
  13. เมื่อหมดเวลาการแข่งขัน ฝ่ายที่ทำคะแนนมากกว่าเป็นผู้ชนะ กรณีมีคะแนนเท่ากันให้ หัวหน้าทีมตกลงกันเพื่อแข่งขันต่อจนกว่ามีฝ่ายใดทำคะแนนได้
  • พ.ศ. 2435 เริ่มมีการแข่งขันบาสเกตบอลครั้งแรก ระหว่างนักศึกษากับคณะครู ของวิทยาลัย
    สปริงฟิล (Springfield College) ผลการแข่งขัน นักศึกษาชนะ 5:1
  • พ.ศ. 2435 เริ่มมีการเผยแพร่เข้าไปเล่นในประเทศเม็กซิโก (Mexico) ในปีเดียวกัน Lew Allen of Hartford ได้ประดิษฐ์ประตูทรงกระบอกที่ทำจากเส้นลวดลักษณะคล้ายกับของ Dr.James Naismith ห่วงประตูยังคงติดตั้งไว้ตำแหน่งเดิม มีตะแกรงป้องกันลูกบอลสำหรับผู้ชมทำให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีการจัดทำกระดานหลังแผ่นแรกขึ้น มีขนาด 3.6 เมตร * 1.8 เมตร
  • พ.ศ. 2437 บาสเกตบอลแยกออกมาจากฟุตบอล โดยมีคณะกรรมการบาสเกตบอล
    – ในปีเดียวกันนี้มีการรับรองกระดานหลัง ซึ่งมีขนาด 1.8 เมตร * 1.2 เมตร
    – กำหนดให้มีการโยนโทษ
    – เกิดการคิดค้นห่วงประตู มีตาข่ายติดกับห่วงประตูด้วยเส้นเชือก เมื่อเชือกนั้นถูกดึงจะทำให้ลูกบอลผ่านไปได้ และยกเลิกการใช้บันไดตั้งแต่บัดนั้น
    – เริ่มการแข่งขันบาสเกตบอลหญิงเป็นครั้งแรกที่ นอร์ตแฮมตัน (Northamton)
  • พ.ศ. 2439 เปลี่ยนแปลงกติกาเรื่องการนับคะแนนจากการยิงประตูธรรมดา เป็น 2 คะแนน และนับคะแนนจากการ
    โยนลูกโทษ 1 คะแนน
    – เกิดการแข่งขันระดับวิทยาลัยเป็นครั้งแรกระหว่าง ชิคาโก (Chicago) กับโลวา (Lowa) โดยให้มีผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน ผลการแข่งขัน ชิคาโก ชนะ 15:12 ไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น
    – Dr.James Naismith ควบคุมกติกา จนกระทั่งมีการจัดตั้งสหพันธ์กีฬาสมัครเล่นและได้บรรจุกติกาและ
    การเปลี่ยนแปลง
  • พ.ศ. 2440 สหพันธ์ได้กำหนดกติกาโดยให้ทีมมีผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน และเป็นที่ยอมรับกัน ทั่วโลก ซึ่งก่อนหน้านี้การเล่นบางครั้งมีผู้เล่นมากกว่า 50 คน ของแต่ละฝ่ายในสนาม
  • พ.ศ. 2448 ได้ขยายเข้าไปในโรงเรียนมัธยม,มหาวิทยาลัย,สมาคม โบสถ์ และทหาร
    – นักศึกษาโรงเรียนกีฬาสปริงฟิลได้นำเผยแพร่ ณ ประเทศฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2452 มีการนำกระดานหลังชนิดกระจกใสเป็นครั้งแรก และได้รับการรับรองในกติกา
    และผู้เล่นที่ฟาวล์ครบ 4 ครั้งให้เป็นฟาวล์ เสียสิทธิ์
    – ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 การแข่งขันบาสเกตบอลได้หยุดชะงักลง ระหว่างนั้นทหารอเมริกัน,ผู้ฝึกสอน
    และ Dr.James Naismith นำบาสเกตบอลเข้าไปยุโรปเป็นนวัตกรรมการแข่งขัน
  • พ.ศ. 2463 มีการแข่งขัน Inter-Allied Game เป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส (Paris) ผลการแข่ง
    ขันสหรัฐอเมริกา (USA.) ชนะฝรั่งเศส (France)และอิตาลี (Italy) โดยถือเป็นการแข่งขันระหว่าง
    ชาติเป็นครั้งแรก และเป็นการเริ่มต้นไปสู่การแข่งขันชิงชนะเลิศระดับโลก
  • พ.ศ. 2466 กำหนดการฟาวล์ ผู้เล่นยิงประตูโทษโดยแยกจากการฟาวล์ อื่น ๆ กล่าวคือ การ ฟาวล์ บุคคลต่อผู้เล่นกำลังยิงประตูจะต้องมีการโยนโทษ
  • พ.ศ. 2467 เป็นกีฬาสาธิตในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ณ กรุงปารีส (Paris)
  • พ.ศ. 2470 Abe Saperstein ติดต่อกับ Harlem Gloketrotters. ซึ่งเป็นผู้เล่นจากชิคาโก และ
    แข่งขันกันครั้งแรกที่ Hinebluy มลรัฐ Illinois ตั้งแต่นั้นมีส่วนทำให้ประชาชนทั่วไปหันมาสนใจ
    กีฬาบาสเกตบอลเพิ่มขึ้นกว่า 100 ประเทศ
  • พ.ศ. 2472 จัดตั้งโรงเรียนพลศึกษา ขึ้นที่ กรุงเจนีวา (Geneva) โดยได้รับความร่วมมือจาก
    วิทยาลัยสปริงฟิล (Springfield College)
  • พ.ศ. 2475 บาสเกตบอลเป็นที่สนใจและเป็นที่นิยมของคนทั่วโลก และสามารถกล่าวได้ว่า
    บาสเกตบอลเป็นกีฬามาจาก สหรัฐอเมริกา (USA.)
    – สมาคมบาสเกตบอล ได้จัดการประชุมสัมมนา ณ กรุงเจนีวา (Genrva) และได้มีประเทศก่อตั้งสหพันธ์บาสเกตบอลสมัครเล่นนานาชาติ (FIBA) รวม 8 ประเทศ
    – FIBA ได้กำหนดและจัดทำกติกาบาสเกตบอลอย่างละเอียด ดังนี้
    1. แต่ละทีมมีผู้เล่นได้ 5 คน เปลี่ยนผู้เล่นสำรองได้ 2 คน 2 ครั้ง
    2. ภายหลังจากการทำคะแนนปกติหรือจากการโยนโทษ ให้เริ่มการแข่งขันด้วยลูกกระโดด
    ณ วงกลมกลาง
    3. มอบหมายให้ Technical Commission ประชุมตกลงเปลี่ยนแปลงกติกาทุก ๆ 4 ปี
    ภายในปีที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
  • พ.ศ. 2478 จัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลชายชิงชนะเลิศแห่งทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก
    ณ กรุงเจนีวา (Geneva) โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 ประเทศ ในครั้งนั้นทีมชนะเลิศ คือ
    ประเทศแลตเวีย (Latvia) ซึ่งชนะ ประเทศสเปน (Spain) ด้วยคะแนน 24 :18
    – การประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ณ กรุงออสโล (Oslo) และได้รับการบรรจุในการแข่งขัน
    กีฬาโอลิมปิกครั้งต่อไป ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin) นับเป็นรายการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดครั้งแรงของบาสเกตบอล และในการแข่งขันครั้งนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA.) ชนะเลิศ โดยชนะคู่ชิง
    ประเทศแคนาดา (Canada) ด้วยคะแนน 19:8 ผู้ให้เกียรติมอบเหรียญรางวัล คือ Dr.James Naismith
    – FIBA จัดการประชุม ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin)โดยมีรายละเอียดดังนี้
    1. ให้เกิดความสมดุลและเสมอภาคระหว่างผู้เล่นฝ่ายป้องกันและฝ่ายรุก
    2. จำกัดความสูงของผู้เล่น
    3. ขอเวลานอกได้ 3 ครั้ง
    4. ยกเลิกการเล่นลูกกระโดดหลังจากเกิดทำคะแนนได้ ให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นหลังแทน
    5. แบ่งสนามเป็นสองส่วน
    6. เริ่มใช้กติกาว่าด้วย 10 วินาทีในแดนหลัง
    7. ฟาวล์บุคคลของผู้เล่นเพิ่มเป็น 4 ครั้ง
  • พ.ศ. 2483 Dr.James Naismith ผู้คิดค้นกีฬาบาสเกตบอล ได้เสียชีวิต
  • พ.ศ. 2491 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 , FIBA ได้ประชุม ณ กรุงลอนดอน (London) โดยมี
    รายละเอียดที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้
    – เริ่มนำกติกาว่าด้วย 3 วินาที
    – ห้ามผู้เล่นที่มีความสูงยืนใต้ห่วงประตู
    – เพิ่มผู้เล่นสำรองจาก 5 คน เป็น 7 คน
    – ขอเวลานอกเพิ่มเป็น 4 ครั้ง
    – ให้ส่งบอลแทนการโยนโทษในช่วงเวลา 3 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน
    – ให้ยกเท้าหลักได้ก่อนการยิงประตู ,ส่งบอล หรือเลี้ยงบอล
    – ผู้เล่นชาวเอเชียเริ่มใช้วิธีการกระโดดยิงประตู
  • พ.ศ. 2492 จัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลอาชีพ NBA
  • พ.ศ. 2493 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศชายของโลก ณ ประเทศอาเจนตินา (Argentina)
  • พ.ศ. 2494 จัดการแข่งขัน NBA-ALL STAR เป็นครั้งแรก ณ กรุงบอสตัน (Boston)
    ในครั้งนั้นฝั่งตะวันออก ชนะ ฝั่งตะวันตก ด้วยคะแนน 111 : 94
  • พ.ศ. 2495 หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงเฮลซิงกิ (Helsinki) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
    – เพิ่มฟาวล์ บุคคลเป็น 5 ครั้ง (Foul-out)
    – เกิดการแข่งขันที่น่าเบื่อ เนื่องจากทีมเล่นช้าลงมากโดยไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้ เกิดช่องว่างของการพัฒนาเกมการแข่งขัน
  • พ.ศ. 2496 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของโลก ณ ประเทศชิลี (Chile)
  • พ.ศ. 2497 Danny Biason เสนอแนะข้อสรุป และใน NBA เริ่มใช้กติกาใหม่ เพื่อให้เกมการ แข่งขันรวดเร็ว โดยให้ทีมครอบครองบอลต้องยิงประตู ภายใน 24 วินาที
  • พ.ศ. 2499 ในการแข่งขัน ณ กรุงเมลเบอร์น (Melbourne) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
    – ฝ่ายรุกต้องยิงประตู ภายในเวลา 30 วินาที
    – กำหนดเขตโยนโทษ เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู บริเวณใต้ห่วงประตู
    – FIBA Technical Commission ทบทวนความสมดุลและเสมอภาคของผู้เล่นฝ่ายรุกและฝ่ายป้องกัน การยิงประตูยกเท้าหลักแล้วปล่อยบอลหลุดจากมือ และการเลี้ยงบอลต้องปล่อยบอลหลุดจากมือก่อนยกเท้าหลัก
    – เกิดการกระโดดยิงประตูได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการยิงประตู , การส่งบอล และการเลี้ยงบอล
    – เกิดยุทธวิธีกำบัง (Screen) การเล่นเต็มสนามของผู้เล่นทำให้ยากต่อการจัดการ
  • พ.ศ. 2501 จัดการแข่งขันชายชิงชนะเลิศชายของสโมสรยุโรป
  • พ.ศ. 2502 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของสโมสรยุโรป
  • พ.ศ. 2503 FIBA ประชุม ณ กรุงโรม (Rome) มีการเปลี่ยนแปลง ดังรายละเอียดดังนี้
    – 5 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน เกิดการฟาวล์บุคคลจะลงโทษด้วยการโยนโทษ 2 ครั้ง
    – กระทำฟาวล์แล้วยิงประตูเป็นผล ให้ยกเลิกคะแนน
    – ทั้งสองทีมทำฟาวล์ซึ่งกันและกัน และบทลงโทษเท่ากัน ให้ยกเลิกบทลงโทษของการโยนโทษ หากบทลงโทษไม่สามารถยกเลิกได้ ให้โยนโทษได้ไม่เกิน 2 ครั้งและครอบครองบอล
    – การเปลี่ยนแปลงของบทลงโทษที่สลับซ้ำซ้อนทำให้บางครั้งเป็นสถานการณ์ที่ยุ่งยากสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน เมื่อต้องมีการนับการยกเลิกบทลงโทษ และจำนวนของการโยนโทษที่เหลือ ทำให้บางครั้งผู้ชมหรือผู้เล่นไม่เข้าใจและเกิดความสับสน
  • พ.ศ. 2507 เริ่มใช้ ช่วงการเล่น (Play Phase)
    – FIBA ได้ประชุม ณ กรุงโตเกียว (Tokyo) ตกลงให้จัดทำหนังสือกติกาที่เข้าใจง่าย
    – เกิดระบบของการรุก และมีการยิงประตูทำคะแนนได้เพิ่มขึ้น ความแข็งแกร่งของผู้เล่นมีความสำคัญ เนื่องจากกีฬาบาสเกตบอลต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา
  • พ.ศ. 2515 หลังจากการแข่งขันโอลิมปิก ณ ประเทศเม็กซิโก (Mexico), FIBA ได้ กำหนดการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของกติกาดังนี้
    – กำหนดหลักทรงกระบอกเหนือห่วงประตู ยกเลิกการห้ามผู้เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตู เมื่อลูกบอลกระทบห่วงประตูผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสามารถเล่นได้
    – 3 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน หากเกิดการฟาวล์จะได้โยนโทษ 2 ครั้ง
    – หากเกิดฟาวล์ทีมให้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการโยนโทษ
  • FIBA มีการประชุม ณ กรุงมิวนิค (Munich) และได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
    – ยกเลิก 3 นาทีสุดท้าย ให้ใช้กับทุกนาทีในการแข่งขัน หากเกิดการฟาวล์ ผู้เล่นที่ไม่มีบอล
    ให้ส่งบอลเข้าเล่น
    – การเปลี่ยนแปลงกติกาทำให้ผู้เล่นฝ่ายป้องกันสามารถละเมิดการฟาวล์ เพื่อทำให้
    ผู้เล่นฝ่ายรุกไม่อยู่ในตำแหน่งยิงประตู
  • พ.ศ. 2516 การแข่งขันชิงชนะเลิศของทวีปยุโรป ณ กรุงบาร์เซโลนา (Barselona) การฟาวล์ ช่วงใกล้หมดเวลาการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ทำให้การฟาวล์ เฉลี่ยต่อเกมสูงถึง 61 ครั้ง ซึ่งมีผลกระทบต่อการแข่งขันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ FIBA ไม่สามารถรอจนถึงการประชุมในการ
    แข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งหน้า ดังนั้น FIBA จึงมีการประชุมและกำหนดตกลงดังนี้
    – “หากแต่ละครึ่งเวลาทีมกระทำฟาวล์ ครบ10 ครั้ง จะถูกโยนโทษ 2 ครั้ง” สำหรับการฟาวล์ ของทีมครอบครองบอลให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นข้าง
  • พ.ศ. 2517 เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการใช้การฟาวล์ ทีมครบ 10 ครั้ง
  • พ.ศ. 2519 ประชุม FIBA ณ กรุงมอลทรีออล (Montreal) มีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงใหม่ดังนี้
    – ให้มีการใช้กติกาว่าด้วยการฟาวล์ ทีม 10 ครั้ง บทลงโทษ โยนโทษ 2 ครั้ง
    – ผู้เล่นที่ถูกกระทำฟาวล์ ขณะกำลังยิงประตู บทลงโทษให้ได้โยนโทษใน 3 ครั้ง
    หากการยิงประตูธรรมดานั้นเป็นผล ให้นับคะแนนและได้โยนโทษ 1 ครั้ง
  • พ.ศ. 2523 ประชุม FIBA ณ กรุงมอสโคว์ (Moscow) เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
    – ลดจำนวนการฟาวล์ ทีมรวม เหลือ 8 ครั้ง
    – ฟาวล์ เทคนิคที่นั่งทีม และหากฟาวล์ เทคนิคผู้ฝึกสอนครบ 3 ครั้ง ให้เป็นการฟาวล์ เสียสิทธิ์ต่อผู้ฝึกสอน
    – ได้จัดทำเอกสารข้อแนะนำกติกาสำหรับวิธีการพิจารณาหลักการประทะโดยกำหนด
    ผู้เล่นใดที่ต้องรับผิดชอบต่อการปะทะนั้น ( ใช้หลักของแนวดิ่ง หมายถึง ช่องว่างเหนือผู้เล่นที่เป็นรูปทรงกระบอก โดยผู้เล่นที่ลอยตัวในอากาศอย่างถูกต้องจะลงสู่พื้นตำแหน่งเดิมก่อนการกระโดด และการป้องกันอย่างถูกต้องนั้นเป็นลักษณะใด รวมถึงการพิจารณาการสกัดกั้น)
  • พ.ศ. 2527 FIBA ได้กำหนดกติกาใหม่ดังนี้
    – เริ่มใช้การยิงประตู 3 คะแนน (NBA เริ่มใช้เมื่อปี 2526 โดยกำหนดการพยายามยิงประตู 3 คะแนน ด้วยเส้นที่ห่างจากห่วงประตู 6.25 เมตร, NBA 7.24 เมตร ) เป็นการเปิดโอกาสให้สำหรับผู้เล่นที่รูปร่างเล็ก
    สามารถทำคะแนนได้
    – ขนาดสนามเปลี่ยนเป็น 15 เมตร * 28 เมตร
    – ฟาวล์ ทีมรวมลดลงเหลือ 7 ครั้ง บทลงโทษ 1+1 (ผู้เล่นโยนโทษครั้งแรกพลาดให้การแข่งขันดำเนินต่อไปทันที)
    – ยกเลิกการโยนโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตูโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตู 2 ใน 3 ให้ใช้บทลงโทษของการพยายามยิงประตูตามพื้นที่ (หากพยายามยิงประตู 2 คะแนนไม่เป็นผล ให้โยนโทษ 2 ครั้ง หากพยายามยิงประตู 3 คะแนนไม่เป็นผลให้โยนโทษ 3 ครั้ง)
    – บทลงโทษการฟาวล์ เทคนิคผู้ฝึกสอน เปลี่ยนเป็น โยนโทษ 2 ครั้ง และได้ครอบครองบอล
  •  พ.ศ. 2529 FIBA World Congress ได้กำหนดการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
    – ให้มีการฟาวล์ เจตนาและฟาวล์ เสียสิทธิ์ต่อผู้เล่น ให้โยนโทษ 2 หรือ 3 ครั้ง และเพิ่มการครอบครองบอล จุดประสงค์เพื่อเพิ่มชนิดของการฟาวล์ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการแข่งขัน
  • พ.ศ. 2533 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
    – ยกเลิกสิทธิ์ในการเลือกสำหรับการส่งบอลเข้าเล่นและช่วงการเล่น (Play Phase)
    ยกเลิกข้อจำกัดของการโยนโทษที่เกิดขึ้น ไม่มีข้อยุ่งยากสำหรับทุกคน
    – กำหนดเขตที่นั่งทีม
    – หากผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีมลุกออกจากที่นั่งทีมอย่างไรจึงถูกขานฟาวล์ เทคนิคผู้ฝึกสอน และลุกออกจากที่นั่งทีมขณะเกิดการชกต่อย ให้ขานฟาวล์ เสียสิทธิ์ทันที
    – ให้กรรมการผู้ตัดสินยื่นส่งบอลให้แก่ผู้เล่นทุกจุดที่มีการส่งบอลเข้าเล่น
    – ห้ามผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นก้าวเท้าเกินกว่า 1 เมตร ในทิศทางเดียวกันก่อนการปล่อยบอลจากการส่ง
    – ผู้เล่นที่ยืนช่องโยนโทษเข้าแย่งบอลจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวเมื่อลูกบอล
    หลุดจากมือของผู้โยนโทษ
    – ผู้ตัดสินสามารถแก้ไขความผิดผลาดที่เกี่ยวกับการโยนโทษและคะแนน
  • พ.ศ. 2535 FIBA เปิดโอกาสให้ผู้เล่นอาขีพสามารถลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
    ณ กรุง บาร์เซโลนา (Barcelona) ซึ่งเรียกว่า ‘Dream Team’ ได้รับการสนใจจากบุคคลทั่วโลก
  • พ.ศ. 2537 FIBA ได้ปรับปรุงกติกา ดังนี้
    – กำหนดระบบการแข่งขัน 2 x 20 นาที หรือ 4×12 นาที
    – การส่งบอลเข้าเล่นให้ส่งใกล้จุดเกิดเหตุ รวมถึงเส้นหลัง
    – ผู้เล่นกำลังยิงประตู ให้นับรวมถึงกรณีผู้เล่นการลอยตัวในอากาศจากการยิงประตู
    จนกว่าเท้าสัมผัสพื้นทั้งสองข้าง
    – สามารถกระโดดยัดห่วง (Alley-oop) จากการส่งบอลและลูกบอลนั้นย้อยลงมาผ่านห่วงได้
    – เปลี่ยน ‘ฟาวล์ เจตนา’ เป็น ‘ฟาวล์ ขาดน้ำใจนักกีฬา’
    – ยกเลิกบทลงโทษ ‘1+1′ ให้ใช้บทลงโทษการโยนโทษ 2 ครั้ง แทน
    – หากผู้เล่น,ผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีม ถูกขานฟาวล์ เสียสิทธิ์ ต้องออกจากสนามแข่งขันกลับไปยังห้องพักหรือออกจากอาคารการแข่งขัน
    – จากสถานการณ์การโยนโทษ ให้มีผู้เล่นทั้งสองทีมทำการแย่งลูกบอลในช่องยืนโยนโทษ
    ไม่เกิน 6 คน (รวมผู้โยนโทษด้วย ทีมละ 3 คน)
  • พ.ศ. 2541 FIBA ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา ดังนี้
    – ยกเลิก ‘บอลเข้าสู่การเล่น (Ball in Play)’
    – เปลี่ยนแปลง ‘บอลดี’ ขณะส่งบอลเข้าเล่นและการเล่นลูกกระโดด
    – ขอเวลานอกเพิ่มเป็น 3 ครั้ง
    – 2 นาทีสุดท้ายของครึ่งเวลาหลังหรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูธรรมดาเป็นผล
    นาฬิกาแข่งขันจะหยุด
    – ผู้เล่นฝ่ายรุก และฝ่ายป้องกัน ห้ามสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตูและขณะลูกบอลกระทบ
    กระดานหลังจากการยิงประตู
    – บทลงโทษของการฟาวล์ คู่ ทีมที่ครอบครองบอลแล้วเกิดกระทำฟาวล์ คู่ ยังคงได้ส่งบอล
    เข้าเล่นแทนการเล่นลูกกระโดด
    – ใช้ ‘ ฟาวล์ เทคนิคขาดน้ำใจนักกีฬา ‘ ให้โยนโทษ 2 ครั้งและครอบครองบอล
  • พ.ศ. 2543 Central Broad of FIBA ได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
    – ระบบการแข่งขัน เป็น 4 period ๆ ละ 10 นาที (4X10 นาที)
    – ฟาวล์ ทีมรวมเหลือ 4 ครั้งต่อ period ครั้งต่อไปให้โยนโทษ 2 ครั้ง
    – พักการแข่งขัน period ที่ 1-2,3-4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ 2 นาที พักการแข่งขัน
    period ที่ 2-3 เป็นเวลา15 นาที
    – ขอเวลานอก period ที่ 1,2,3หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษได้ 1 ครั้ง ขอเวลานอก period ที่ 4 ได้ 2 ครั้ง
    – ให้เวลานอก 1 นาทีเต็ม ถึงแม้ทีมที่ขอเวลานอกพร้อมแข่งขัน
    – เปลี่ยนกติกาว่าด้วย 30 วินาที และนาฬิกา 24 วินาทีเริ่มต้นนับใหม่เมื่อลูกบอลหลุดจากมือจากการยิงประตูและสัมผัสห่วงประตู หากลูกบอลลอยในอากาศจากการยิงประตูแล้วเสียงสัญญาณ 24 วินาทีดังขึ้นนาฬิกาแข่งขันหยุดทันที หากบอลเข้าห่วงประตู ให้นับคะแนน หากไม่ลงถือเป็นผิดระเบียบ ให้ฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลเข้าเล่น
    – ทีมครองครองบอลต้องพาบอลสู่แดนหน้า ลดเหลือ 8 วินาที
    – ช่วง 2 นาทีสุดท้ายของ period ที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด ทีมที่มีสิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่นจากการเสียประตู ขอเปลี่ยนตัวได้ และฝ่ายตรงข้ามขอเปลี่ยนตัวตามได้
    – FIBA จะใช้ระบบการตัดสิน 3 คน สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก
    – สำหรับระบบการตัดสินใจ 3 คน หากฝ่ายจัดการแข่งขันพิจารณาแล้วและมีความเห็นให้ใช้ก็สามารถกระทำได้
    – บทลงโทษการฟาวล์ เทคนิคผู้เล่น ให้โยนโทษ 1 ครั้ง และครอบครองบอล
  • พ.ศ. 2543 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เอกสารการวินิจฉัยและตีความอธิบายรายละเอียดของกติกาและเหตุการณ์ที่เกิดให้ชัดเจนขึ้น
  • พ.ศ. 2544 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เอกสารเน้นจุดสำคัญของการปฏิบัติ เช่น การลงโทษ,การพิจารณาการเล่นที่ได้เปรียบ/เสียเปรียบ
    – ได้เผยแพร่เอกสารเน้นการแข่งขันอย่างรวดเร็ว,การเคลื่อนที่ของผู้ตัดสินในสนาม, ระบบการตัดสินที่ชัดเจน และการวินิจฉัยตีความเพื่อแนวทางในเมื่อเกิดเหตุการณ์ในสนาม
  • เมื่อสิ้นทศวรรษที่ 20 (พ.ศ.2543) ประมาณกันว่ามีผู้นิยมกีฬาบาสเกตบอลกว่า 250 ล้านคน และมีประเทศที่เป็นสมาชิกสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (F.I.B.A.) 208 ประเทศ

คลิกเพื่อกลับขึ้นด้านบน

เว็บไซต์นี้ เป็นผลงานของรายวิชา โครงการ (2204-8501) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2561