จำนวนผู้เข้าชม

คลิกหรือสแกนรูป

เพื่อประเมินเว็บไซต์

วิธีการเล่นบาสเกตบอล

การเลี้ยงบาสเกตบอล

  การเลี้ยงบาส คือ การเคลื่อนที่ของผู้เล่นโดยพาลูกบอลให้ผ่านจากการป้องกันจากฝ่ายตรงข้าม
เพื่อหาตำแหน่งส่งบอลหรือทำคะแนนการเลี้ยงลูกเป็นการบังคับให้ลูกกระเด้งกับพื้นตลอดเวลา ผู้เล่นจะไม่ใช้มือตบลูกแต่จะใช้มือดันลูกไปหาพื้นแทนเนื่องจากควบคุมลูกได้ดีกว่า
ในการเล่นกีฬาบาสเกตบอล การครอบครองลูกบอลไว้นั้นต้องไม่นานเกิน 5 วินาที
ถ้าผู้เล่นยังต้องการครอบครองลูกบอลไว้อีก จึงจำเป็นต้องเลี้ยงลูกบอลเพื่อรอจังหวะการเล่นต่อไป
เมื่อต้องเลี้ยงลูกผ่านคู่ ต่อสู้ ผู้เลี้ยงลูกควรเลี้ยงให้ลูกอยู่ห่างจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมากสุด
ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องเลี้ยงลูกได้ทั้งสองมือ ด้วยการสลับมือเลี้ยงลูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก็เอื้อมมือถึงลูกได้ยากขึ้น และระหว่างที่สลับมือจะต้องเลี้ยงลูกให้ต่ำลงป้องกันการขโมยลูก
ผู้เล่นอาจเปลี่ยนมือโดยเลี้ยงลูกลอดหว่างขาหรือไขว้หลังก็ได้ผู้เล่นที่ชำนาญสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ต้องมองลูก ซึ่งช่วยให้มองหาเพื่อนร่วมทีมหรือโอกาสการทำแต้ม และป้องกันการขโมยลูกจากผู้เล่นที่ยืนอยู่รอบ ๆ ได้
การเลี้ยงลูกบาสเกตบอลเป็นทักษะที่จำเป็นที่ผู้เล่นทุกคน

การเลี้ยงลูกบาสเกตบอล มี 2 แบบ ได้แก่
1.การเลี้ยงลูกระดับสูง คือ การเลี้ยงลูกโดยทุ่มลูกให้สูงระดับเหนือเอวขึ้นมา แต่ไม่ควรเกินหัวไหล่
จะทำให้ควบคุมทิศทางลูกบอลยาก ใช้กับการเคลื่อนที่ในทิศทางตรง เช่น การวิ่งเลี้ยงลูก ทำได้โดย
1.1 ยืนในท่าทรงตัวแบบเท้านำเท้าตาม ให้ลำตัว ศีรษะโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
1.2 ใช้มือข้างที่ครอบครองลูกบอลข้างเดียวกดลูกบอลทุ่มลงกับพื้น โดยใช้ข้อมือกระดก
ขึ้นกดลูกบอลติดต่อกัน เพื่อควบคุมทิศทางและความสูง ต่ำของลูกบอลด้วยนิ้วมือ ทั้ง 5 นิ้ว
ให้ ลูกบอลกระดอนสูงระดับเอว แต่ไม่เกินระดับไหล่
1.3 ใช้มือบังคับลูกบอลเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ

2.การเลี้ยงลูกระดับต่ำ คือ การเลี้ยงลูกโดยทุ่มลูกบอลต่ำกว่าเอวลงไป คือประมาณความสูงระดับเข่า
ใช้สำหรับการเคลื่อนที่หลบหลีกคู่ต่อสู้หรือใช้เลี้ยงในพื้นที่แคบ อาจใช้การเคลื่อนที่โดยการก้าวเท้าตามกัน (Slide)
การเลี้ยงระดับนี้จะควบคุมลูกได้ดี สามารถพาลูกไปกับตัวได้อย่างคล่องแคล่ว ทำได้โดย
2.1 ยืนเตรียมพร้อมในลักษณะเท้านำเท้าตาม ย่อเข่าโดยโน้มตัวไปข้างหน้า ให้ศีรษะ และไหล่
ก้มต่ำลง ตามองไปข้างหน้า
2.2 กางนิ้วมือออกพร้อมกับใช้ข้อมือ กดลูกบอลให้กระดอนขึ้นลงในระดับเข่า และ เคลื่อนที่ไปใน
ทิศทางที่ต้องการ

การส่งบอล

การส่งบอลในกีฬาบาสเกตบอลเป็นส่วนสำคัญในการที่จะทำให้ทีมชนะได้ เพราะฉะนั้นเราก็ควรให้ความสำคัญ
ในการฝึกฝนการส่งบอลในกีฬาบาสเกตบอลการที่จะเลี้ยงลูกไปยังฝ่ายตรงข้ามได้ด้วยตัวคนเดียวนั้นต้องใช้ทักษะ
เป็นอย่างมากซึ่งผู้เล่นที่พึ่งจะหัดเล่นก็ต้องใช้ทักษะ
ในการส่งเข้ามาช่วยจึงจะทำให้การเล่นประสบความสำเร็จได้
         การส่งลูกบาสเกตบอลมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบนำมาใช้ในการเล่นบาสเกตบอลได้เป็นอย่างดี จะใช้แบบไหนช่วงไหนก็อยู่ที่สถานการณ์ของการเล่น ที่จะสอนในวันนี้จะเป็นวิธีง่ายๆในการส่งบอล คือ
การส่งแบบสองมือระดับอก
        การส่งลูกบาสเกตบอลสองมือระดับอก  เป็นวิธีการส่งที่ใช้กันมากที่สุดในการแข่งขัน เพราะส่งได้รวดเร็วและแม่นยำทั้งในระยะ
ใกล้และระยะห่างกันปานกลาง
1.จับลูกบอลด้วยมือทั้งสองระดับอกห่างตัวเล็กน้อย 
2.หักข้อมือทั้งสองขึ้นเล็กน้อย
3.ผลักบอลด้วยการเหยียดแขนและตวัดข้อมือลง  ผลักด้วยปลายนิ้ว

การ Lay Up

การ lay up หรือ การวิ่งกระโดดทำแต้ม เป็นอีกหนึ่งวิธีในการทำแต้มซึ่งจะแตกต่างจากการยืนชูตอย่างสิ้นเชิง
การ lay up
เป็นทักษะพื้นฐานที่ยากกว่าการทำแต้มแบบอื่นๆ แต่จะเป็นวิธีการทำแต้มที่รวดเร็วและสามารถเข้าใกล้ห่วงประตูได้มากที่สุด
การที่จะเข้าไป lay up นั้นควรมีทักษะการเลี้ยงและการวิ่งที่ชำนาญ
วิธีการ lay up โดยคร่าวๆ
1. จับลูกบาสให้มั่นคง
2. เริ่มก้าวขาข้างที่ถนัดก่อน
3. ก้าวต่อไปเป็นก้าวที่สอง แล้วทำการกระโดดลอยตัว
4. ยกเข่าขึ้นพอประมาณ และยกแขนขึ้นให้สุด
5. ปล่อยลูกลงห่วง หรือกระแทกกับแป้นให้ลงห่วง
6. เมื่อถึงพื้นควรย่อตัวลงเพื่อลดแรงกระแทก เพื่อไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ
หมายเหตุ : การ lay up ห้ามวิ่งเกิน 3 ก้าว ไม่งั้นจะเป็นการผิดกติกาบาสเกตบอล

การชูตบาสพื้นฐาน

การยืนชูต One Hand Set Shot

รูปแบบการยืนชูตแบบ one hand นั้นเหมาะสำหรับการชูตลูก 2 แต้มคือผู้เล่นต้องอยู่ไม่ไกลจากห่วงนัก
หรือไม่ก็เป็นตอนที่ได้ยิงลูกโทษ โดยการชูตแบบนี้ผู้เล่นจะไม่ได้กระโดด เพียงแต่ยืดแขนออกไปโดยใช้แขนข้างใดข้างนึง
เป็นตัวนำส่วนอีกมือนึงเป็นตัวประคอง
ดังนั้นการชูตรูปแบบนี้จะชูตในมุมต่ำ เวลาใช้ในสนามก็ควรชูตต่อเมื่อไม่มีคู่ต่อสู้ค่อยขัดขวาง

วิธีการชูต
1. เริ่มจากเท้าควรวางเท้าใดเท้านึงนำเล็กน้อย หรืออาจจะวางเท้าในระดับเดียวกันแต่ห่างออกจากกันก็ได้
2. ย่อเข่าลงเล็กน้อยใช้มือข้างที่ถนัดจับอยู่ที่ใต้ลูกบาส ส่วนอีกมือก็ช่วยประคองลูก ยกลูกขึ้นเหนือศีรษะ
3. สายตาเล็งไปที่ห่วง หรืออาจจะเล็งไปที่กรอบสี่เหลี่ยมก็ได้
4. ชูตบาส โดยการส่งแรงจากหัวเข่าขึ้นมา แขนยืนตรงออกไปให้สุด ใช้ข้อมือสะบัดลูกออกไป

การกระโดดชูต Jump Shot

การกระโดดชูตนั้นเป็นท่าชูตที่ผู้เล่นส่งแรงจากการกระโดดขึ้นมาทำให้สามารถชูตได้ในระยะที่ไกล
เหมาะสำหรับการทำแต้ม 3 คะแนน และยังสามารถใช้ในการชูตที่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้ามาขัดขวางได้

วิธีการชูต
1. ย่อเข่าลงเพื่อเตรียมกระโดดขึ้น มือทั้งสองขัางจับบอลอยู่ในระดับหน้าอก
2. สายตาเล็งไปยังห่วงบาส
3. ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ มือข้างที่ถนัดอยู่ใต้ลูกส่วนอีกมือช่วยประคองลูก ศอกและแขนตั้งตรงไม่เอียง
4. กระโดดขึ้นส่งแรงจากข้อเท้าขึ้นมา แขนยืดตรงใช้ข้อมือสบัดลูกออกไป

สิ่งสำคัญสำหรับการชูตบาสทั้งสองแบบก็คือการใช้ข้อมือในการสะบัดลูกให้ออกไปในทิศทาง หรือวิถีโค้งที่ เราต้องการ
การฝึกชูตบาสทั้งสองแบบนั้นควรฝึกซ้ำๆ จนร่างกายเกิดความเคยชินก่อน และเมื่อเวลาเราลงไปเล่นในสนาม
ก็จะสามารถชูตบาสออกไปได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

การเล่นบุกทำคะแนน

การเล่นบุกทำคะแนนมีหลากหลายกว่า เกี่ยวข้องกับแผนการส่งลูก และการเคลื่อนไหวของผู้เล่นที่ไม่ถือลูก
การคัท (cut) หรือวิ่งตัด คือการที่ผู้เล่นที่ไม่มีลูกวิ่งอย่างรวดเร็วไปยังตำแหน่งที่ได้เปรียบ การสกรีน (screen)
หรือ พิก (pick)
คือการที่ผู้เล่นฝ่ายบุกยืนขวางทางผู้เล่นฝ่ายรับที่ประกบเพื่อนร่วมทีมใน ขณะที่เพื่อนร่วมทีมนั้นวิ่งตัดข้างๆ เขา การเล่นสองแบบนี้สามารถรวมเข้าเป็นพิกแอนด์โรล (pick and roll) โดยที่ผู้เล่นคนแรกทำพิกจากนั้นก็หมุนตัววิ่งเข้าหาห่วง (ซึ่งเรียกว่าโรล)
สกรีน และ คัท เป็นส่วนสำคัญของการเล่น ทำให้ส่งลูกและทำคะแนนได้สำเร็จ ทีมมักมีแผนการเล่นที่หลากหลายเพื่อให้อีกฝ่ายไม่สามารถคาดเดาการเล่นได้ ในสนามผู้เล่นตำแหน่งพอยท์การ์ดมักมีหน้าที่บอกแผนการเล่นที่จะใช้ให้กับ เพื่อนร่วมทีม

วิธีการบุก
1. การรุกเร็วหรือการลักไก่ (Fast Break Attack) ใช้ในโอกาสที่ฝ่ายตรงข้ามที่ไปตั้งรับไม่ทันอาศัยทักษะเฉพาะตัวและการประสานงานในทีม พาลูกทีมไปยิงประตูฝ่ายตรงข้ามได้อย่างรวดเร็ว การรุกแบบรวดเร็วสนามจะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนเท่ากัน ตามแนวเส้นข้างตั้งฉากกับเส้นหลัง เนื่องจากการรุกเร็วสามารถรุกเข้าห่วงประตูทั้ง 3 ส่วนของสนามพร้อมกันในเวลาเดียวกัน จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามป้องกันได้ยากขึ้น

2. การรุกช้า (Slow or deliberate Attack) การรุกช้าเป็นยุทธวิธีอีกวิธีหนึ่ง ที่ใช้กรณีฝ่ายตรงข้ามสามารถถอยป้องกันได้ทัน ทำให้ความสามารถในการพาลูกบอลเข้าไปยิงประตูฝ่ายตรงข้ามช้าลงหรือยากขึ้น จึงจำเป็นต้องหารูปแบบยุทธวิธีในการรุก โดยสังเกตุจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้ามในการป้องกัน เพื่อนำรูปแบบการรุกของทีมมาใช้อย่างเหมาะสม

การเล่นตั้งรับ

การเล่นตั้งรับ มีหลักการแตกต่างกันสองรูปแบบ คือ ตั้งรับแบบโซน (zone defense) และ แบบแมน-ทู-แมน
(man-to-man defense) การตั้งรับแบบโซน ผู้เล่นจะยืนคุมผู้เล่นฝ่ายบุกที่อยู่ในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบ
ส่วนแบบ แมน-ทู-แมน นั้น ผู้เล่นฝ่ายรับแต่ละคนจะยืนคุมและป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่โค้ชวางแผน
การเล่นเอาไว้

การตั้งรับแบบโซนมีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่
1. การตั้งรับแบบ 2-1-2
นิยมเล่นกันมาก เพราะสามารถเปลี่ยนสภาพของรูปแบบได้ง่าย โดยการเคลื่อนที่ของคนกลางขึ้นหรือลงเพียงคนเดียวเท่านั้นก็จะทำให้รูปแบบเปลี่ยนไป การตั้งรับแบบนี้มักใช้กับทีมตรงข้ามที่เก่งในการส่งบอลวงนอก ซึ่งสามารถป้องกันพื้นที่เขตโทษได้ดี และป้องกันการยิงประตูในระยะไกล การตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่น 2 คน อยู่กลาง 1 คน และอยู่หลัง 2 คน โดยแต่ละคนจะต้องคอยดูแลรับผิดชอบพื้นที่ของตน


2. การตั้งรับแบบ 1-2-2
เป็นการป้องกันการยิงประตูในระยะไกลบริเวณหัวกระโหลกของเขตโทษได้ดีแต่ด้อยในการป้องกันฝ่ายตรงข้ามที่
รุกใต้แป้น และการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่ 1 คน อยู่กลาง 2 คน อยู่หลัง 2 คน คอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน


3. การตั้งรับแบบ 3-2
ใช้เมื่อผู้เล่นศูนย์หน้าและผู้เล่นหลัง หรือการ์ด 2 คน ยิงประตูวงนอกได้แม่นยำ แต่ขาดประสิทธิภาพในการรุกใต้แป้นโดยการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่หน้า 3 คน และอยู่หลัง 2 คน คอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน


4. การตั้งรับแบบ 2-3
มักใช้กับทีมตรงข้ามที่มีความสามารถรุกใต้แป้นได้ดี โดยการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่หน้า 2 คน และอยู่หลัง 3 คน คอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน


การป้องกันแบบ แมน-ทู-แมน มีวิธีปฏิบัติดังนี้
1. ยืนเตรียมพร้อม และเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของผ่ายรุก และต้องติดตามไปเป็นเงาตามตัวพยายามขวางทิศทางการเคลื่อนที่ของคู่แข่งขัน
2. สายตาจะต้องจับจ้องอยู่ที่ลูกบอล และคู่แข่งขันตลอดเวลา
3. ยกมือกันคู่ต่อสู้ไม่ให้ส่งลูกบอลได้สะดวกพร้อมทั้งพยายามดึง หรือแย่งลูกบอลไปครอบครอง

การยิงจุดโทษ

ในการยิงจุดโทษนั้นทำได้ก็ต่อเมื่ออีกทีมทำฟาวล์ในขณะที่เรากำลังชูต ถ้าเรากำลังชูต 2 แต้ม แล้วโดนทำฟาวล์ เราก็จะได้ยิงจุดโทษ 2 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งจะได้แค่เพียง 1 แต้มเท่านั้น แต่ถ้าเรากำลังชูต 3 แต้ม เราจะได้ยิงจุดโทษ 3 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งก็จะได้แค่เพียง 1 แต้มเหมือนกัน
การยิงจุดโทษนั้นฟังดูแล้วอาจเหมือนทำได้ง่ายๆแต่ความจริงแล้วก็เหมือนกับการชู้ตธรรมดาเพียงแต่เรา
ห้ามกระโดดเท่านั้นเอง ควรฝึกฝนการยิงจุดโทษให้สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการยิง
ในการแข่งขันเมื่อเราได้ยิงจุดโทษแม้จะได้มาแค่แต้มเดียวก็อาจจะทำให้ทีมชนะได้
ซึ่งวิธีการยิงจุดโทษมีดังต่อไปนี้
1. ทำสมาธิ
2. จับลูกบาสให้มั่นคง
3. ย่อเข่าลงเล็กน้อย ยกบอลขึ้นเหนือศีรษะ มืออีกข้างประคองลูก
4. ส่งแรงจากเท้า ลำตัว แขน และมือที่ใช้ชูต ตามลำดับ
5. ใช้ปลายนิ้วในการบังคับทิศทาง

คลิกที่นี้เพื่อกลับไปด้ายบน

เว็บไซต์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา โครงการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ครูที่ปรึกษา ครูสุดฤดี ประทุมชาติ ปีการศึกษา 2561